ความรู้สำหรับประชาชน

บทความ: โรคพิษสุนัขบ้า และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้าและการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
 
ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร
หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
 
โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้้า (เรบีส์;rabies) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากการติดเชื้อไวรัสเรบีส์ของระบบประสาทโดยสัตว์เป็นพาหะน้าโรคสู่คน โรคพิษสุนัขบ้าพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สุนัขและแมวซึ่งเป็นสัตว์ที่น้าโรคพิษสุนัขบ้ามาสู่คนบ่อยที่สุด สัตว์ชนิดอื่นๆที่พบเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้เช่น หนู ลิง กระรอก ชะนี กระต่าย และ ค้างคาว โรคพิษสุนัขบ้ายังคงเป็นสาเหตุส้าคัญของการเสียชีวิตของมนุษยชาติทั่วโลกปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษา พบว่าผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ได้รับเชื้อจากการถูกสัตว์กัด อย่างไรก็ตามการถูกสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค ข่วน สัตว์เลียเยื้อบุผิวหนังหรือเลียบาดแผลสามารถท้าให้มนุษย์เกิดโรคพิษสุนัขบ้าได้ เมื่อมีการติดเชื้อภายหลังถูกสัตว์กัด ผู้ป่วยจะมีอาการสมองอักเสบ ไม่ค่อยรู้สึกตัว กลัวน้้า กลัวลม บางรายมีอาการแขนขาอ่อนแรง ผู้ป่วยมักเสียชีวิตภายใน 1 สัปดาห์ภายหลังมีอาการของการติดเชื้อ แม้ว่าโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าแบบให้ก่อนหรือภายหลังสัมผัสโรคก็ยังพบว่าในแต่ละปีมียังมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากโรคพิษสุนัขบ้าประมาณ 50,000-60,000 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศแถบเอเชียและแอฟริกาที่ซึ่งไม่สามารถควบคุมสุนัขจรจัดหรือการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์และในประชากรไม่ประสบผลส้าเร็จ ในประเทศที่พัฒนาแล้วเช่น ประเทศในทวีปยุโรปพบโรคพิษสุนัขบ้าในคนน้อย เนื่องจากมีการควบคุมการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ สุนัขและ แมว ในอดีตประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณ 300-400 รายต่อปีท้าให้องค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนมีการรณรงค์ร่วมมือกันเพื่อท้าให้โรคพิษสุนัขบ้าหมดไปโดยด้าเนินการส่งเสริมให้มีการควบคุมสุนัข แมวจรจัด การควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์โดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะสุนัขโดยมีเป้าหมายในการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้มากกว่าร้อยละ 80 ของสุนัขเลี้ยงทั้งหมด กระทรวงสาธารณสุขมีการจัดโครงการการให้วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแก่ประชากรภายหลังถูกสัตว์น้าโรคกัดอย่างถูกต้อง รวดเร็วและสนับสนุนการให้วัคซีนเพื่อป้องกันก่อนสัมผัสโรคในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกสัตว์กัด ท้าให้ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าน้อยกว่า 10 รายต่อปี
 
สัตว์กัดเป็นเป็นสาเหตุส้าคัญของการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในมนุษย์และเป็นปัญหาที่น้าผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อรับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า แม้ว่าวัคซีนและเซรุ่มที่ใช้ในการป้องกันภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าจะมีราคาแพง กระทรวงสาธารณสุขได้มีการรณรงค์การการให้วัคซีนและเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าภายหลังสัมผัสโรคแก่คนไทยเพิ่มขึ้นโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ท้าให้การให้วัคซีนและเซรุ่มแก่ประชากรภายหลังถูกสัตว์กัดในประเทศไทยสูงขึ้นมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านจนปัจจุบันมีผู้ได้รับการรักษาด้วยวัคซีนภายหลังมีการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทยมากกว่า 300,000 รายต่อปี อย่างไรก็ตามมีความพยายามในการหารูปแบบการให้วัคซีนแก่ประชากรภายหลังมีการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าที่เหมาะสมเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายเช่น การฉีดวัคซีนโดยการฉีดเข้าในผิวหนังด้วยการใช้ขนาดวัคซีนจ้านวนน้อยซึ่งให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพไม่ต่างจากการฉีดเข้ากล้ามเนื้อและการฉีดวัคซีนแบบเข้าในผิวหนังดังกล่าวเป็นแนวทางส้าคัญในการที่จะท้าให้ผู้ป่วยที่สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าทุกรายได้รับการรักษาที่ถูกต้องและปลอดภัย ท้าให้อัตราการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในคนไทยลดลงอย่างชัดเจน ปัจจุบันผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นผู้ที่ไม่ได้ไปรับการรักษาจากแพทย์ภายหลังถูกสัตว์กัดเนื่องจาก ไม่
ไปพบแพทย์ภายหลังถูกสัตว์กัด เข้าใจผิดคิดว่าสุนัขไม่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าเช่น สุนัขอายุน้อย หรือสุนัขเคยได้รับวัคซีนมาก่อน ไปรับการรักษากับหมอเถื่อนฯลฯ และผู้เสียชีวิตส่วนหนึ่งเกิดจากการได้รับการรักษาที่ช้าและไม่ถูกต้อง
 
การท้าความสะอาดแผลจากการถูกสัตว์กัดอย่างรวดเร็วและถูกต้องโดยการล้างบาดแผลด้วยน้้าและสบู่ทันที่เพื่อลดจ้านวนของเชื้อโรคที่บาดแผลและอาจใส่ยาฆ่าเชื้อเช่น โพวิโดนไอโอดีน เป็นสิ่งส้าคัญในล้าดับแรกในการป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าจากการถูกสัตว์กัดและต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อพิจารณารับการรักษาด้วยการฉีดวัคซีนร่วมกับเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นสิ่งส้าคัญเพราะเป็นวิธีที่สามารป้องกันการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าได้ แพทย์จะพิจารณาการให้การรักษาจากลักษณะของการถูกสัตว์กัดโดยเฉพาะกรณีที่มีบาดแผลรุนแรงจะมีโอกาสเกิดโรคพิษสุนัขบ้าได้สูง เช่น บาดแผลลึกมีเลือดออก บาดแผลบริเวณใบหน้า คอ ร่วมกับการตรวจสอบว่าสัตว์ที่กัดนั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่จากการตรวจสมองสัตว์ถ้าสามารถน้าสัตว์ส่งตรวจได้ซึ่งสามารถทราบผลการตรวจได้ภายใน 1 วัน เพื่อน้ามาเป็นแนวทางในการให้การรักษาที่เหมาะสม ในกรณีสัตว์ที่กัดหนีหายไปหรือเป็นสัตว์ป่า แพทย์จะถือเสมือนว่าสัตว์ที่กัดนั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้าและผู้ที่มีการสัมผัสโรคจะต้องได้รับการรักษาทันที
 
ผู้ป่วยที่จ้าเป็นต้องได้รับการรักษาแบบภายหลังสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าจะได้รับวัคซีนชนิดเซลล์เพาะเลี้ยงโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อในวันแรกที่มารับการรักษาและฉีดวัคซีนเข้ากล้ามอีก 4 ครั้งในวันที่ 3, 7, 14 และวันที่ 28 นับจากวันแรก หรือการฉีดเข้าในผิวหนังโดยให้ฉีดเข้าไปในผิวหนัง 2 จุด ในวันแรกที่มารับการฉีดวัคซีน และฉีดเข้าในผิวหนังอีก 3 ครั้ง ในวันที่ 3, 7 และวันที่ 28 นับจากวันแรก โดยผู้ป่วยต้องมารับวัคซีนครบและตรงตามก้าหนดวันนัดฉีดทุกครั้งเพราะการฉีดวัคซีนจะสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพียงพอในการป้องกันโรคได้ ผู้ป่วยที่มีบาดแผลรุนแรงทุกรายที่ไม่เคยมีประวัติได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามาก่อนต้องได้รับการฉีดเซรุ่มเข้าที่บาดแผลทันทีพร้อมกับการฉีดวัคซีน เซรุ่มที่ใช้ในการป้องกันโรคมี 2 ชนิดคือเซรุ่มที่ท้าจากมนุษย์ซึ่งมีราคาแพงและอีกชนิดหนึ่งเป็นเซรุ่มที่ท้าม้าซึ่งมีราคาถูกกว่าแต่ได้ผลการรักษาไม่แตกต่างกัน แพทย์จะฉีดเซรุ่มบริเวณที่บาดแผลทุกแผล ถ้ามีเซรุ่มเหลือให้ฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อต้นขาหรือกล้ามเนื้อสะโพก ในกรณีผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัดเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าชนิดเซลล์เพาะเลี้ยงแบบก่อนหรือหลังสัมผัสโรคครบมาก่อนเมื่อมีการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าสามารถรับการรักษาได้โดยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นและไม่จ้าเป็นต้องได้รับเซรุ่มแม้มีบาดแผลรุนแรง การให้วัคซีนแก่ผู้ป่วยเด็กใช้ขนาดของวัคซีนเท่ากับขนาดที่ใช้ในผู้ใหญ่ การตั้งครรภ์ไม่เป็นข้อห้ามของการให้วัคซีนและเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนมักมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น เจ็บ คันในต้าแหน่งที่ฉีด อาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อ การได้รับเซรุ่มที่ท้าจากม้าจะมีผลข้างเคียงตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อยจนถึงมีผื่น ปวดข้อ มากกว่าการได้รับเซรุ่มที่ท้าจากมนุษย์
 
เนื่องจากประเทศไทยยังมีโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์โดยเฉพาะสุนัขและยังพบมีสุนัขจรจัดอยู่ทั่วไป ดังนั้นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกสัตว์กัด เช่น สัตว์แพทย์ ควรได้รับการฉีดวัคซีนแบบก่อนสัมผัสโรค อย่างไรก็ตามบุคคลที่เลี้ยงสัตว์และเด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีสุนัขจรจัดชุกชุมและมีปัจจัยเสี่ยงต่อการถูกสัตว์กัดจะถือว่ามีปัจจัยเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าและควรได้รับการฉีดวัคซีนแบบก่อนสัมผัสโรคเช่นกันเพราะเมื่อถูกสัตว์กัดผู้ป่วยจะสามารถรับการรักษาด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคแบบการฉีดกระตุ้นโดยไม่จ้าเป็นต้องได้รับเซรุ่ม การให้วัคซีนป้องกันแบบก่อนการสัมผัสโรค ท้าได้โดยการฉีดวัคซีนชนิดเซลล์เพาะเลี้ยงโดยการฉีดวัคซีนเข้ากล้าม 1 เข็ม หรือ 0.1 มล.ฉีดเข้าในผิวหนัง บริเวณต้นแขนในวันที่ 0, 7 และ 21 หรือ 28 เด็กใช้ขนาดของวัคซีนเท่ากับผู้ใหญ่