ความรู้สำหรับประชาชน

บทความ: โรคอีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใส

ผศ.พญ.เลลานี ไพฑูรย์พงษ์

สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย 

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคติดเชื้อที่มาด้วยอาการไข้ออกผื่น ในประเทศไทยพบมากช่วงเดือนมกราคมถึง
เมษายน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลล่า (varicella zoster virus) พบมากในเด็ก แต่พบในผู้ใหญ่ได้ 
อาการในเด็กมักไม่รุนแรง อาการในผู้ใหญ่รุนแรงกว่า โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่่า อาจมีภาวะแทรกซ้อน
รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
 
การติดต่อ
ติดต่อโดยการหายใจเอาฝอยละอองจากทางเดินหายใจของผู้ป่วยเข้าไป หรืออาจเกิดจากการสัมผัส
โดยตรงกับตุ่มน้่าที่ผิวหนังของผู้ป่วยที่อยู่ในระยะแพร่เชื้อ ระยะที่ผู้ป่วยอาจแพร่เชื้อได้ คือ 1-2 วันก่อนผื่น
ขึ้นจนกระทั่งผื่นตกสะเก็ดหมด
 
อาการ
หลังจากรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการภายใน 10-21 วัน เริ่มจากมีไข้ต่่าๆ ปวดเมื่อย
กล้ามเนื้อ และมีผื่นเริ่มจากล่าตัว ใบหน้าและลามไปแขนขา ผื่นจะขึ้นบริเวณล่าตัวมากกว่าแขน ขา อาจ
พบตุ่มขึ้นในช่องปากและเยื่อบุต่างๆ ได้ผื่นตอนแรกเป็นผื่นแดง มักมีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มน้่า
อย่างรวดเร็วและตกสะเก็ด ในที่สุดสะเก็ดจะหลุดหายไปในเวลา 5-20 วัน 
อาจพบภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง หรือติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด 
ปอดอักเสบ และภาวะแทรกซ้อนทางสมองได้ 
ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง ได้แก่ หญิงมีครรภ์ ทารกแรกเกิด ผู้มีภูมิต้านทานต่่า เช่น
ผู้ป่วยเอดส์ ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูก ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ และผู้รับประทานยากด
ภูมิต้านทานต่างๆ
หญิงมีครรภ์ที่เป็นโรคนี้ในช่วง 20 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์อาจท่าให้เด็กในครรภ์พิการแต่ก่าเนิดได้แต่พบไม่บ่อย(น้อยกว่าร้อยละ 2) หากเป็นช่วงที่ครรภ์มารดาอาจมีอาการรุนแรง และมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ ร่วมด้วย และหากมารดาเป็นโรคในช่วงใกล้คลอด (5 วันก่อนคลอดจนถึง 2 วันหลังคลอด) ทารกแรกเกิดอาจรับเชื้ออีสุกอีใสและมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
เมื่อผู้ป่วยหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อไวรัสจะไปหลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาท และท่าให้เกิดโรค
งูสวัดได้เมื่อภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
 
การรักษา
โรคนี้อาจหายเองได้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสอาจท่าให้ระยะการเป็นโรคสั้นลง หากผู้ป่วยได้รับ
ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผื่นขึ้น ผู้ป่วยไม่จ่าเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสทุกราย พิจารณาให้ในรายที่มีความเสี่ยง
จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
ถ้ามีไข้สูง ใช้ผ้าเช็ดตัวลดไข้ อาจให้ยาลดไข้กลุ่มพาราเซทามอล ไม่ควรใช้ยากลุ่มแอสไพริน เพราะ
อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไรย์ (Reye’s syndrome) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดความผิดปกติทางสมองและตับ
อย่างรุนแรง
อาจให้ยาทา เช่น คาลาไมน์เมื่อบรรเทาอาการคัน หรือยารับประทานกลุ่มแอนตี้ฮีสตามีน อย่าให้
ผู้ป่วยเกา เพราะอาจเป็นแผลเป็นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ ควรตัดเล็บให้สั้น
 
การป้องกันการแพร่กระจายโรค
ผู้เป็นโรคอีสุกอีใสควรแยกตัวจากผู้อื่น เด็กที่เป็นโรคอีสุกอีใสควรหยุดเรียน ผู้ใหญ่ควรหยุดงานจน
ผื่นตกสะเก็ดหมด ไม่ควรใกล้ชิดกับผู้อื่นโดยเฉพาะ หญิงมีครรภ์ ทารก และผู้ที่มีภูมิต้านทานต่่า 
 
วัคซีนสำหรับป้องกันโรค
โรคอีสุกอีใสมีวัคซีนส่าหรับป้องกันโรค วัคซีนเป็นชนิดเชื้อเป็นฉีดเข้าที่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ใน
ผู้ใหญ่และเด็กอายุเกิน 12 ปี ต้องฉีดวัคซีน 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ เนื่องจากวัคซีนเป็นชนิด
เชื้อเป็น จึงมีข้อห้ามในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่่า เช่น ผู้ที่รับประทานยากดภูมิต้านทาน ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ยังไม่ได้
รักษา และหญิงมีครรภ์
ในเด็กที่ไม่มีข้อบ่งห้าม สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 12-15 เดือน ขึ้นไป และฉีดกระตุ้นอีกครั้งที่อายุ 4-
6 ปีหรืออาจฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งภูมิต้านทานจะขึ้นดีกว่าการฉีด 1 เข็ม
เมื่อฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มพบว่าร้อยละ 99 ของผู้รับวัคซีนจะเกิดภูมิต้านทานต่อโรค ผู้ที่ได้รับวัคซีน
ส่วนหนึ่งยังอาจเกิดโรคอีสุกอีใสได้ แต่อาการจะไม่รุนแรง เช่นอาจไม่มีไข้ หรือจ่านวนผื่นน้อยกว่า กลุ่มที่
ไม่เคยได้รับวัคซีน
 

สำหรับดาวน์โหลด